ปลาเทวดา เป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่ได้รับความนิยมมานาน มักนิยมเลี้ยงในตู้กระจก มีนิสัยรักสงบ มีรูปร่างโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ลำตัวแบนข้างมาก มีปากขนาดเล็ก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหลังบานยาวออกมาจากลำตัว ครีบท้องมีอยู่หนึ่งคู่เรียวเล็กและปลายชี้แหลม มีหลายสายพันธุ์ ปลาเทวดาถือเป็นปลาน่าเลี้ยงยิ่งเลี้ยงรวมกันหลายๆ ตัวก็จะยิ่งสวย

ปลาเทวดา ปลาสวยงาม

ปลาเทวดา (Angel fish) ชื่อสามัญเรียกชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Pterophyllum ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ลำตัวแบนข้างมาก มีปากขนาดเล็ก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหลังบานยาวออกมาจากลำตัว ครีบท้องมีอยู่หนึ่งคู่เรียวเล็กและปลายชี้แหลม เป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่ได้รับความนิยมมานานแล้วเช่นกัน มักนิยมเลี้ยงในตู้กระจกและมีการตกแต่งหินประดับขนาดใหญ่หรือขอนไม้ เนื่องจากจะช่วยให้ปลาเทวดาแลดูเด่นมากขึ้น โดยปลาจะชอบว่ายวนเวียนอยู่ใกล้ๆ กับก้อนหินและขอนไม้ และมักจะว่ายน้ำช้าๆ พร้อมกับกางครีบต่างๆ อยู่ตลอดเวลาทำให้แลดูสง่างามมาก

เป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ ไม่ไล่ทำร้ายกันหรือไล่รบกวนปลาชนิดอื่น ปกติชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงยกเว้นเมื่อจะแพร่พันธุ์วางไข่จะแยกตัวออกไปเป็นคู่ สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆ ในตู้เดียวกันได้ดี จัดเป็นปลาสวยงามที่มีราคาดีชนิดหนึ่งและสามารถขายได้ตลอดปี

ถิ่นกำเนิด

ทั้งนี้ปลาเทวดามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่อเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำโอริโนโก ลุ่มน้ำอเมซอน และลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง โดยนิยมอยู่เป็นฝูงในถิ่นที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพน้ำมีความเป็นกรดประมาณ 5-5.5

รูปร่างลักษณะปลาเทวดา

ปลาเทวดา เป็นปลาแบนข้าง ลำตัวกว้างลึก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบด้านท้องก็ทำนองเดียวกัน ครีบหางแบนเป็นแพนใหญ่ รูปทรงเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากริมฝีปากค่อนข้างเล็กดวงตากลมโต มีหลายสี ตามสายพันธุ์แตกต่างกันออกไป เช่น เทวดาดำ เทวดาหินอ่อน เทวดาขาว เป็นต้น

  • อุปนิสัย

เป็นปลาที่แปลก บางครั้งก็เป็นปลารักสงบ ชอบอยู่นิ่งๆ ไม่ตื่นตกใจง่าย แต่ในทางตรงกันข้าม บางครั้งก็มีนิสัยก้าวร้าว หวาดระแวงขี้ตื่นตกใจ บางตัวเลี้ยงให้คุ้นเคยได้ง่าย แต่บางตัวคุ้นเคยยาก ไม่ยอมกินอาหารและเป็นปลาที่ค่อนข้างใจเสาะ เสียชีวิตง่าย ถ้าการดูแลเอาใจใส่ไม่ดี ถ้าน้ำในตู้เสียและผิดปกติไปก็จะแสดงอาการไม่ปกติทันที

  • การเลี้ยงดู ปลาเทวดา

โดยทั่วไปเป็นปลารักสงบ พอจะปล่อยเลี้ยงรวมกันหลายๆ ตัวได้ในตู้กระจกที่กว้างขวางพอ และมีพันธุ์ไม้เป็นที่หลบอาศัยบ้าง เมื่อจับคู่กัน แม่จะวางไข่ติดกับวัสดุในน้ำ เช่น ใบไม้ รากไม้ หรือแผ่นหิน สำหรับอาหารที่ให้ได้แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ เนื้อกุ้งสับ และอาหารเม็ดสำเร็จรูป เป็นต้น

การจำแนกเพศปลาเทวดา

เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก การสังเกตุความแตกต่างจากลักษณะภายนอกจะทำได้ยากมาก และจะพอสังเกตุได้ก็ต่อเมื่อปลาถึงวัยสมบูรณ์เพศแล้ว โดยจะต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์พอสมควร ลักษณะที่พอจะบ่งบอกความแตกต่างลักษณะเพศของปลาเทวดามีดังนี้

  • บริเวณหน้าผาก เพศผู้จะมีส่วนหัวด้านบน (หน้าผาก) โหนกนูนและสีเข้มกว่าปลาเพศเมีย
  • ติ่งเพศ เพศเมียจะมีติ่งเพศเป็นท่อยื่นยาวออกมาค่อนข้างมาก และมีขนาดใหญ่กว่าติ่งเพศของเพศผู้   ซึ่งจะปรากฎให้เห็นได้ชัดเจนในช่วงผสมพันธุ์วางไข่เท่านั้น

สำหรับวิธีการจำแนกเพศที่ดีที่สุด คือปล่อยให้ปลาจับคู่กันเอง เมื่อปลามีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์หรือถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาเพศผู้และเพศเมียจะมีการเลือกคู่หรือจับคู่กัน และมักจะว่ายน้ำคลอเคลียไปด้วยกัน ดังนั้นถ้านำปลาเทวดาที่สมบูรณ์เพศแล้ว หรือมีขนาด 4 – 6  นิ้ว มาเลี้ยงรวมกันในตู้ปลา ขนาด  20 – 36  นิ้ว จำนวนตู้ละ 10 – 20  ตัว แล้วแต่ขนาดตู้ปลา ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 วันปลาจะเริ่มมีการจับคู่กันก็พยายามแยกคู่ออกมา จะได้ปลาเพศผู้และเพศเมียมาเป็นคู่อย่างแน่นอน   และเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

การแพร่พันธุ์ของปลาเทวดา

ในธรรมชาติปลาเทวดาเป็นปลาที่ต้องมีการเลือกคู่หรือจับคู่กันก่อนการแพร่พันธุ์วางไข่ จากนั้นจะเลือกพื้นที่ซึ่งมักจะเป็นใบพันธุ์ไม้น้ำชนิดที่มีใบกว้างเพื่อวางไข่ หรืออาจวางไข่บนวัสดุแข็งผิวเรียบ เช่น ตามโขดหิน หรือขอนไม้ โดยแม่ปลาจะค่อยๆ ปล่อยไข่ติดกับวัสดุเป็นแถวยาวครั้งละ 10 – 15  ฟอง แล้วว่ายน้ำออกมา

จากนั้นปลาเพศผู้จึงว่ายเข้าไปค่อยๆ ปล่อยน้ำเชื้อไล่ไปตามเม็ดไข่ เสร็จแล้วจะว่ายน้ำออกมาเช่นกัน แล้วปลาเพศเมียก็จะเข้าไปวางไข่อีก ทำเช่นนี้สลับกันไปจนไข่หมดท้อง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงจำนวนไข่ทั้งหมดที่วางแต่ละครั้งจะมีไข่ประมาณ 200 – 500 ฟอง จากนั้นทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะช่วยกันดูแลรักษาไข่ โดยจะคอยโบกพัดน้ำบริเวณที่วางไข่เพื่อเพิ่มออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอ และจะเก็บกินไข่ที่เสียออกด้วย

การพัฒนาของไข่จะใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ลูกปลาก็จะฟักออกจากไข่แล้วตกลงสู่พื้น ลูกปลาจะลงไปเกาะอยู่ตามพื้นหรือตามวัสดุแข็ง เช่น กิ่งไม่ ขอนไม้ ก้อนหิน หรือผนังตู้ โดยในระยะแรกนี้จะมีถุงไข่แดงขนาดใหญ่อยู่ และจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วันจึงจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงหมด จากนั้นลูกปลาจะว่ายรวมฝูงหาอาหารอยู่ใกล้ๆ พ่อแม่ปลา พ่อแม่ปลาจะคอยป้องกันศัตรูให้ลูกปลา จนลูกปลาเจริญเติบโตพอควรก็จะแยกฝูงออกไปหากินกันเอง พ่อแม่ปลาก็จะออกหาอาหารและสามารถวางไข่ชุดใหม่ได้อีกในเวลาประมาณ 25 – 30 วัน ส่วนลูกปลาที่แยกตัวไปจะเจริญเติบโตเป็นปลาเต็มวัยในเวลาประมาณ 6 – 8 เดือน

ปลาเทวดา

การเพาะพันธุ์ปลาเทวดา          

การดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาเทวดากระทำได้ไม่ยากนัก ผู้เลี้ยงปลาสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ ดังนี้

  • การเตรียมบ่อเพาะ

บ่อที่จะใช้เพาะพันธุ์ปลาเทวดาอาจใช้ตู้กระจก หรืออ่างซีเมนต์ก็ได้ แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุด หรือเหมาะสมมากที่สุด คือตู้กระจก เพราะจะช่วยให้สังเกตุได้ว่าปลาวางไข่เมื่อใด และไข่มีการพัฒนาไปอย่างไรบ้าง ขนาดของตู้ใช้ได้ตั้งแต่ขนาด 14 – 36 นิ้ว ถ้าเป็นตู้เล็กจะปล่อยปลาตู้ละ 1 คู่ แต่ถ้าตู้ใหญ่จะใส่ปลาได้ 2 – 3  คู่ ภายในตู้ควรมีพันธุ์ไม้น้ำบ้างและจะไม่รองพื้นตู้ด้วยกรวดหรือเศษปะการังเลย ควรปล่อยพื้นตู้โล่งๆ

  • ที่วางไข่ของปลา

จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้ปลาใช้เป็นที่วางไข่ ซึ่งปัจจุบันมีการเลือกใช้กันหลายรูปแบบ ได้แก่

        – พรรณไม้น้ำ ชนิดของพรรณไม้น้ำที่นิยมกัน คือ อเมซอน เนื่องจากมีใบกว้างหนา แข็งแรง

        – แผ่นกระจก แผ่นพลาสติก กระเบื้องแผ่นเรียบ ขนาดประมาณ 4 x 10 นิ้ว หรือท่อ PVC วางเอียงทำมุม 30 – 60 องศากับพื้นตู้

        – โดม หรือกระถางต้นไม้ ที่มีเนื้อเนียน

  • การเติมอากาศ

ควรเปิดแอร์ปั๊มเพื่อเพิ่มออกซิเจนแต่ไม่ควรเปิดให้แรงมากนัก

  • การควบคุมอุณหภูม

ควรใช้ฮีตเตอร์ ( Heater) ควบคุมอุณหภูมิของน้ำให้อยู่ระหว่าง 28 – 32 องศาเซลเซียส จะช่วยให้ปลาวางไข่ได้เกือบตลอดปี

  • การคัดพ่อแม่พันธุ์ปลา

ปลาที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่มีอายุประมาณ 8 – 10 เดือนขึ้นไป ควรเลือกพ่อแม่ปลาที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ นำมาปล่อยเลี้ยงรวมกันไว้ในตู้กระจกเพื่อให้ปลาจับคู่กันเองตามธรรมชาติ เพราะการแยกเพศพ่อแม่ปลาจากการสังเกตลักษณะ ความแตกต่างจะค่อนข้างยาก ปลาเทวดาจะเพาะพันธุ์ได้ดีตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม

ดังนั้นควรจัดปลาที่จะใช้เพาะพันธุ์ลงบ่อเลี้ยงตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธุ์ หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือนจึงหมั่นสังเกตุเพื่อหาพ่อแม่พันธุ์ที่มีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์ ก็จะพบว่ามีปลาที่แยกคู่ออกจากฝูง พร้อมกับมีการสร้างอาณาเขตของตัวเองขึ้น โดยไม่ยอมให้ปลาตัวอื่นเข้าใกล้คู่ของตัวเอง หรือบริเวณที่คู่ของตัวเองเลือกไว้ก็คัดแยกปลาคู่ดังกล่าวนำมาปล่อยลงบ่อเพาะ ปลาก็จะเลือกบริเวณที่จะวางไข่

แล้วช่วยกันทำความสะอาดโดยใช้ปากแทะเล็มตะไคร่น้ำและเศษวัสดุต่างๆ ออก พร้อมทั้งพ่นน้ำไล่ตะกอนออกจนเกลี้ยง แต่ถ้าหากผู้เลี้ยงพึ่งจัดเตรียมบ่อเพาะและวัสดุวางไข่ไว้ให้ ปลาก็จะวางไข่ได้ง่ายขึ้นนอกจากนั้นปลาอาจเลือกวางไข่ที่บริเวณผนังกระจกของตู้ปลาหรือวัสดุผิวเรียบอื่นๆ ที่อยู่ในตู้ก็ได้

  • ข้อควรระวังในการเพาะปลาเทวดา

– ไม่ควรใส่กรวดหรือปะการังรองพื้นตู้โดยเด็ดขาด เพราะลูกปลาที่ฟักออกจากไข่จะตกลงพื้น ก็จะทำให้แทรกลงไปตามช่องว่างของก้อนกรวดและปะการัง แล้วมักจะตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ หรือไม่สามารถว่ายกลับขึ้นมาได้

– ในระหว่างที่ปลาวางไข่แล้วต้องระวังอย่าให้ปลาตื่นตกใจ หรือระวังอย่าให้มีการเคาะที่ผนังตู้ปลาโดยเด็ดขาด เพราะเมื่อพ่อแม่ปลาได้รับความตกใจก็จะกินไข่ของตัวเองจนหมด

– ในระหว่างที่ปลาวางไข่แล้วต้องงดการให้อาหารทุกชนิด จนกว่าจะแยกลูกปลาออกไปอนุบาล จึงเริ่มให้อาหารแก่พ่อแม่ปลา

  • การอนุบาลลูกปลาเทวดา        

เมื่อปลาวางไข่แล้วอาจปล่อยให้พ่อแม่ปลาดูแลรักษาไข่เอง หรืออาจแยกเอาไข่ออกมาฟักเองก็ได้ แต่จะต้องเสียเวลาในการดูแลรักษาไข่ค่อนข้างมาก เพราะไข่ปลามักถูกทำลายด้วยเชื้อรา การปล่อยให้พ่อแม่ปลาฟักไข่เองจะให้ผลดีกว่า ข้อสำคัญ คือจะต้องงดอาหารระหว่างที่ปลาดูแลรักษาไข่ เพราะถ้าปลาได้รับอาหารก็มักจะกินไข่ของตัวเองด้วย

พันธุ์ปลาเทวดา

พบกันอยู่ประมาณ 9 สายพันธุ์

  1. ปลา เทวดาเงิน (Silver Angelfish)
  2. ปลา เทวดาดำ (Black Angelfish)
  3. ปลา เทวดาลายม้าลาย (Zebra Angelfish)
  4. ปลา เทวดาลายหินอ่อน (Marble Angelfish)
  5. ปลา เทวดาลายดำครึ่งตัว (Half Black Angelfish)
  6. ปลา เทวดาขาว (White or Ghost Angelfish)
  7. ปลา เทวดาทอง (Gold Angelfish)
  8. ปลา เทวดาลายจุด (Spotted Angelfish)
  9. ปลา เทวดาสายพันธุ์อื่นๆ

 

ปลาเทวดาถือว่าเป็นปลาสวยงามน่าเลี้ยงอีกหนึ่งสายพันธุ์ ราคาค่อนข้างจับต้องได้ไม่แพงเกินไป และเมื่อเลี้ยงจนโตทรงตัวก็จะยิ่งสวย ถึงแม้จะราคาถูก แต่ถ้าได้เจอทรงสวยๆ รูปร่างดีๆ ลายแปลกๆ หายากๆ ราคาก็จะยิ่งอัพแพงไปกว่าเดิมอย่างมาก การเลี้ยงปลาเทวดาถ้ายิ่งเลี้ยงรวมกันหลายๆ ตัวก็จะยิ่งสวยไปอีกแบบ

 

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่  etvsoft.com
สนับสนุนโดย  ufabet369